เมนู

ว่าด้วยสมาธิ 3


พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิทั้งหลายอันเป็นจตุกกนัย และปัญจกนัย ต่อ
ไป ในจตุกกนัย สมาธิในปฐมฌาน ชื่อว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร. ใน
ปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ชื่อว่าเป็นสมาธิสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. ในจตุกก-
นัยก็ดี ในปัญจกนัยก็ดี. สมาธิในฌาน 3 เบื้องบน ชื่อว่า สมาธิไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร. จริงอยู่ ในสมาบัติทั้งหลาย มีชื่อว่า สมาธิของผู้เข้าสมาบัติ 8
โดยลำดับ ดังนี้บ้าง มีชื่อว่า สมาบัติ ดังนี้บ้าง.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิต.
ความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิตเช่นนั้น ชื่อว่า สมาธิของนิโรธ-
สมาบัติ
ก็หามิได้. คำว่า หานภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า เป็นธรรมฝ่ายเสื่อม)
อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีคุณอันน้อยแล้วก็แล่นไปตามกาม
เป็นต้น ของผู้มนสิการด้วยสัญญา. คำว่า วิเสสภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า ธรรม
ฝ่ายดี ธรรมวิเศษ) อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น. ความผ่องแผ้วของ
ฌานที่คล่องแคล่วแล้ว ชื่อว่า การออกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า
แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก นี้. จริงอยู่ ฌานอันคล่องแคล่วซึ่งเป็น
ชั้นต่ำ ๆ ย่อมเป็นปทัฏฐานแก่ฌานในเบื้องบน ๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า แม้
ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก ดังนี้. ชื่อว่า การออกจากภวังค์ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยบทว่า แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า การ
ออก.

จริงอยู่ การออกจากฌานทั้งหมด ย่อมมีด้วยภวังค์. แต่การ
ออกจากนิโรธ ย่อมมีด้วยผลสมาบัติอย่างเดียว.

ข้อนี้ ชื่อว่า การออก อันเป็นปาลีมุตตกะ (คือนอกจากบาลี) ดังนี้ แล.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 7 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 8


ในนิทเทสญาณเป็นกำลังข้อที่ 8 คำว่า ปุพฺเพนิวาสํ (ระลึกชาติ
หนหลัง) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้เป็นอเนก ข้าพเจ้าให้พิสดาร
แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 8 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 9


แม้ในนิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ 9 คำทั้งปวงว่า ทิพฺเพน
จกฺขุนา
เป็นต้น พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 9 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 10


คำว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. คำว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลญาณ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นี้เป็นกถาที่เสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายในที่นี้ก่อน.
ก็ปรวาที กล่าวว่า ชื่อว่า ทศพลญาณ แยกออกเป็นส่วนหนึ่งไม่มี
นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณ ข้อนั้นมิพึงเห็นอย่างนั้น เพราะว่า ทศพล-